15 ตุลาคม 2556

เลือกรถคนที่ใช่

จากการตัดสินใจแล้วว่า จะขี่จักรยานแน่นอน
ปัญหาใหญ่ของการเริ่มต้นขี่จักรยานคือ จะใช้รถอะไรในการขี่ เพราะรถแต่ละแบบ ก็จะมีลักษณะที่แตกต่างกันไป สามารถแบ่งได้ตามลักษณะการใช้สอยได้ดังนี้

รถเสือหมอบ
 จะเป็นรถที่เน้นความเร็วอย่างเดียว ลักษณะรถจึงเล็ก เพรียว เบา ลู่ลมที่สุด  ไม่มีอุปกรณ์ซับแรงกระแทก หน้ายางเล็ก แคบ เพื่อลดแรงเสียดทานกับพื้นถนน  ความทนทานน้อยกว่าเสือภูเขา

รถเสือภูเขา
สือภูเขา  จะมีโครงสร้างที่ใหญ่ แข็งแรง แต่เบา  แต่ก็หนักวก่าเสือกมอบ มีการติดช๊อคอัพ เพื่อดูดซับแรงกระแทก  มีหน้ายางที่ใหญ่ และมีดอกยางใหญ่ เพื่อการตะกุยดิน   รถแบบนี้ จะเน้นความทนทาน เพราะเน้นใช้งานสมบุกสมบัน   แต่จะมีท่านั่งที่สบายกว่าเสือหมอบ   ดังนั้น จึงมีคนนิยมนำมาขี่ในระยะใกล้ๆมากกว่า

รถ Hybrid
เป็นลูกครึ่งระหว่างเสือหมอบ กับเสือภูเขา เาชการใช่ตัวถังเสือภูเขา แต่ใน่ล้อเสือหมอ หรือ ตัวถังหมอบ ใน่แฮนด์ เสือภูเขา เป็นรถที่ออกแบบมาให้ใช้งานแบบ คละเคล้ากันระหว่างวิ่งบนถนน อาจจะวิ่งทางดินได้บ้าง

รถ Touring
อันนี้ชื่อบอกตรงๆ ว่าเอาไว้ขี่เที่ยวไกลๆ ตัวรถจะออกแบบมาให้นั่งขี่ได้นานๆ สามารถยรรทุกของได้ โดยเฉพาะอุปกรณ์ยังชีพ ญึ่งมีหลายคนได้นำเสือภูเขา หรือเสือหมอบมาดัดแปลงก็ได้ แต่ touring พันธุ์แท้ จะมีโครงสร้างและท่านั่งบนรถที่ไม่เหมือนกหมหรือภูเขา ตัวถังจะหนัก เพื่อห้เกิดความสมดุลระหว่างขี่ และไปได้ขี่เรื่อยๆ

รถ City bike เป็นรถที่ออกแบบให้ขี่ง่ายๆ ไม่เน้นความเร็ว อาจจะไม่มีเกียร์ก็ได้ ชื่อก็บอกไว้ขี่ในเมือง ดังนั้น จึงไม่ได้มีโครงสร้างที่ออกแบบให้ทนต่อแรกกระแทก กระโดด อะไรมากมาย ถ้านึกไม่ออกให้คิดถึงจักรยานแม่บ้านประมาณนั้น

รถพับ
อันนี้มาแนวขี่ในเมืองเป็นหลัก ตัวรถจะต้องพับเพื่อย่อส่วนได้ ให้สามารถพกพาได้สะดวก บางครั้งสามารถพับแล้วเข็นได้ หรือพับแล้วนั่งได้ แต่โครงสร้าง ก็มีหลายแบบตั้งแต่ย่อส่วนเสือหมอบ ย่อส่วนทัวร์ริ่ง ยีอส่วนเสือภูเขา หรือพับเอาดื้อ ไม่ย่อส่วนเลยก็มี จักรยานพับ จะมีข้อจำกัดหลายอย่าง ตั้งตัวถังที่พับได้ ทำให้มีข้อต่อเพิ่มขึ้น มีโอกาสหักได้มากขึ้น หรือมีขนาดเล็ก ทั้งล้อ ทั้งตัวถัง การขับขี้จะสู้รถใหญ่ไม่ได้ ดังนั้นการผลิตต้องอาศัยเทคโนโลยีในการผลิตค่อนข้างสูง

ในการเลือกรถนั้น ในเลือกตามการใช้งาน และความชอบของตนเอง ถ้าคนที่ต้องการปั่นเร็วๆ แรงๆ ต้องเสือหมบเท่านั้น แต่ต้องการความนุ่มนวล และมีแรงเยอะๆ ก็ต้องเสือภูเขา หรือต้องการขี่เพื่อการท่องเที่ยวไกลๆ เป็นหลักต้อง Touring หรือต้องการขี่ไปทำงานต้องจักรยานพับ แต่ทุกอย่าง สามารถขี่ทางไกลได้ทั้งหมด ขึ้นอยู่กับใจและแรงของแต่ละคน....

14 ตุลาคม 2556

เมื่อแรกจับแฮนด์ และก้นติดอาน

หลังจากที่เลือกซื้อจักรยานได้แล้ว ใจก็เรียกร้องด้วยความกระหายเป็นอย่างยิ่ง ให้ออกไปท้าลมท้าแดด และทดสอบแรงของตัวเอง เป็นคำพูดที่ดูสวยหรูทีเดียว

วันแรกก็ได้เรื่อง
หลังจากที่เริ่มขี่จักรยานคันใหม่ โดยเฉพาะคนที่ไม่เคยขี่จักรยานมีโช้ค ให้ทำความคุ้นเคยกับจักรยานก่อนสักระยะ ลองขี่ในถนนรูปแบบต่าง ๆ ก่อน เพราะ การรับน้ำหนัก และการทรงตัว ไม่เหมือนกับจักรยานไม่มีโช้คเลย ดังนั้น คนที่ติดจะเอาจักรยาน กระโดด มันจะโดดไม่ขึ้น เพราะโช้คจะดูดซับแรงไว้ทั้งหมด ผู้เขียนรู้ซึ่งเป็นอย่างดี เพราะเอาไปกระโดดขึ้นฟุตบาท และกระโดดไม่ขึ้น ล้มกลิ้งไม่เป็นท่าเลย ถลอกปิกเปิดกันไป

ประมาณแรง
การขี่จักรยาน เป็นการออกกำลังกายที่ผลาญแรงแบบไม่รู้ตัว เพราะไม่ได้ออกแรงมากในแต่ละครั้ง (ยกเว้นพวกที่เร่งความเร็วสุดๆ) แล้วมีลมปะทะตัวเองตลอดเวลา ทำให้รู้สึกว่าเย็น ไม่ร้อน แต่จริง ๆ ความร้อนเกิดขึ้นแบบมหาศาล ดังนั้น จะเกิดเหตุการณ์ขี่เพลิน ต้องไม่ลืมว่า เวลาขี่จักรยาน จะมี 2 เที่ยว คือ เที่ยวไป และเที่ยวกลับ ห้ามขี่จักรยานจนรู้สึกหมดแรง และค่อยขี่กลับ เพราะจะกลับไม่ถึง คนที่เริ่มหัดขี่ใหม่ ๆ ขี่ได้ 5 กิโลเมตร ก็เก่งแล้ว แบบนี้ต้องการการฝึกฝนค่อย ๆ เพิ่มระยะทาง

หัดซ่อมรถ
จักรยานเป็นอะไรที่มีความแข่งแกร่งและเปละบางในตัวเอง โดยเฉพาะยาง ถนนในประเทศไทย เป็นถนนที่ไม่สะอาด จึงมีเศษแก้ว เศษตะปู และสารพัดเศษที่ทำให้ยากแตกได้มากมาย ดังนั้นต้องหัด เปลี่ยนยาง ถอดล้อ ซ่อมรถง่าย ๆ เป็น และต้องเตรียมอุปกรณ์การซ่อมไปด้วย เดี๋ยวนี้มีขายแบบชุดพกพา เพราะถ้าเกิดยางแตกกลางทาง ปัญหาใหญ่เกิดทันที ไม่รู้จะไปทางไหน หันซ้ายหันขวา ก็ไม่มีคน งานนี้ เดิน เดินอย่างเดียวครับ การที่ซ่อมรถเป็น พร้อมมีอุปกรณ์ จะช่วยให้พาตัวเองรอดวิกฤติได้

ทำใจและฝึกฝน
วันแรกของการขี่จักรยาน จะพบกับความเจ็บปวดหลายอย่าง ตั้งแต่เจ็บกล้ามเนื้อ เพราะไม่เคยขี่ เจ็บก้น อันนี้เป็นทุกคน ไม่ว่าจะใช้เบาะอะไร มีกางเกงแบบไหน แต่นาน ๆ ไปก็ชิน ขี่ 6 ชั่วโมงไม่ต้องใช้กางเกงเจลก็ได้ และเจ็บแสบผิวจากการถูกแดดเผา อันนี้ต้องหาทางป้องกันเอาเอง ทั้งครีมกันแดด และเสื้อผ้า หลายคนท้อตั้งแต่ครั้งแรก เพราะไม่อยากเจอความเจ็บปวด เรื่องนี้ไม่ได้ ต้องฝึกฝน และลืม ๆ มันไป อีกไม่นาน จะขี่จักรยานได้ไกลขึ้นเรื่อย ๆ เอง

น้ำ น้ำ น้ำ
การขี่จักรยาน ต้องการน้ำสะอาดดื่มเป็นจำนวนมาก เพราะเป็นการออกกำลังที่สร้างความร้อนในร่างกายได้อย่างมหาศาล ดังนั้น ต้องเตรียมน้ำให้พร้อม จิบทีละอึกทุกครั้งที่รู้สึกว่า คอ เริ่ม แห้ง ไม่ควรที่จะจิบเมื่อหิวน้ำมาก ๆ เพราะนั่นแสดงว่าร่างกายขาดน้ำแล้ว ผลพวงของการขาดน้ำจะทำให้ ขาดสมาธิ กล้ามเนื้อเป้นตะคริว หมดแรง ถึงขั้นหมดสติ อันตราย และไม่ต้องกลัวว่าจะปวดฉี่ ไม่มีฉี่แน่นอน เพราะออะมาเป้นเหงื่อหมด เชื่อเหอะ ถ้าขี่จักรยาน 5 ชั่วโมง ดื่มน้ำไป 6 ลิตร ยังไม่ปวดฉี่เลย

01 กุมภาพันธ์ 2556

พื้นฐานจักรยาน

จาก BMX เมื่อวัยเยาว์

ผมเองเป็นด็กผู้ชายคนหนึ่งที่ได้ขัดขี่จักรยานเมื่อตอนอายุ 7 ขวบ แน่นอนว่ามีร่องรอยของประสบการณ์เป็นแผลเป็นตามร่างกายอยู่เป็นแห่ง ทั้งที่หัวเข่า ข้อศอก หลังมือ จนอายุ 12 ได้จักรยาน BMX ราคาไม่แพงมา 1 คัน เป็นมรดกมาจากพี่ชายสมัยปี 2538 เนื่องจากพี่ชายไปเรียนมัธยมแล้ว ไม่มาชี่จักรยานเล่นแบบเด็ก ๆ อีก

ตอนนั้น เงินก็ไม่ค่อยมี แต่ก็ยังพยายามแต่งรถ เท่าที่จะทำได้ เงินที่มีก็เป็นค่าขนมที่ได้จากโรงเรียน วันละ 30 บาท แต่งรถทีละ 400 โห เริ่มจากเปลี่ยนแฮน เป็นของ Haro เปลี่ยนอาน ให้เป็นอานพลาสติกแข็ง เปลี่ยนยาง ให้เป็นยางเรียบ จะได้ปั่นเร็ว ๆ (เทคนิคในการเปลี่ยนคือ ใช้ให้พัง) เปลี่ยนผ้าเบรกให้เบรกนึบ เวลาปัดท้ายจะได้สวย ๆ

พื้นที่ในการขี่สมัยนั้น มีอยู่ 2 ที คือในซอยเล็กๆ ข้างบ้าน และฟุตบาตหน้าบ้าน เนื่องจากทางบ้านไม่อนุญาติให้ลงถนน กลัวอันตราย จะขี่ไปไกลสุดได้แค่ตลาดมหาสินซึ่งอยู่กลางซอยระยะทางประมาณ 500 เมตร และต้องขี่บนฟุตบาตเท่านั้น ห้ามขี่บนถนน สิ่งที่ได้โดยไม่ตั้งใจจากการถูกบังคับแบบนี้คือ การควบคุมรถในทางแคบ และไม่เรียบ เพราะฟุตบาตในสมันนั้น กว้างประมาณ 2 เมตรเท่านั้น และยังมีตู้โทรศัพท์ เสาไฟ คนเดินสวน ระหว่างทางมีซอยคั่น แรก ๆ พอถึงปากซอยที่ฟุตบาตหมด ก็ลง และจูงไป แต่หลัง ๆ ใช้รถกระโดดลง และกระโดดขึ้นได้ แต่พอเข้าเรียนมัธยมในปี 2539 แล้ว โอกาสในการได้มาขี่รถเล่นช่วงเย็น ๆ ก็น้อยลง เพื่อน ๆ แถวบ้านก็หายหน้าหายตากันไปหมด จนในที่สุด ก็เลิกขี่ในปี 2535 และจักรยานคันนั้น ก็ทรุดโทรม กลายเป็นเศษเหล็กไปในที่สุด

เสือหมอบ


อีกครั้งที่ได้มาขี่จักรยาน โดยการไปขอจักรยานจากน้า ซึ่งเป็นจักรยานที่้น้าไม่ได้ใช้แล้ว มันคือเสือหมอบ จักรยานคันใหญ่ที่สามารถทำความเร็วได้ดี (ตามความคิดสมัยนั้น) ยี่ห้อ Scorpion เป็นเสือหมอบแบบโบราณ คันนี้ซื้อมาประมาณปี 2530 มี 10 เกียร์ เกียร์หน้า 50/40 เกียร์หลัง 15-27 ขนาดล้อ 27 นิ้ว เบรกก้ามปูธรรมดา ได้มาครั้งแรก ขี่ยากมาก เพราะคันใหญ่ และหนัก น้ำหนักรถประมาณ 15 กิโลกรัม 

คันนี้แหละ เสือหมอบคันแรก

แต่เมื่อได้มา ก็ยังไม่ได้ขี่อะไรมากมายนัก เพราะว่าชีวิตส่วนใหญ่ อยู่ที่โรงเรียน และ มหาวิทยาลัย จนเวลาผ่านล่วงเลยไปเรื่อย ๆ 

ปี 2549 ได้กลับมาขี่อีกครั้ง เนื่องจากตอนนั้นว่างงาน และต้องการประหยัดเงินในการเดินทาง จึงได้เอาเจ้าเสือหมอบไปซ่อมแซม เปลี่ยนยาง เปลี่ยนเบรค ติดไฟหลัง เพิ่มแผ่นสะท้อนแสงด้านหน้า เป็นอันใช้ได้ แล้วเอาไว้ถีบใกล้ ๆ ระยะทางไม่เกิน 5 กม. ครั้งแรกสุดที่ถีบทางไกล เป็นการถีบจากปากซอยอุดมสุขไปถึงสวนหลวง ร. 9 เหนื่อยมาก ทำไม่รถหนักอย่างนี้ ตอนนั้นไม่รู้ว่าการถีบควรจะออมแรกเอาไว้อย่างไร เห็นว่าเป็นเสือหมอบ ต้องวิ่งเร็ว ๆ เท่านั้น มีเท่าไหร่ใส่หมด แป็บเดียว หมดแรง ขาแทบเดินไม่ได้ คราวนี้ถีบได้นานหน่อย ประมาณ 5 เดือน จนได้งานใหม่ เลิกถีบอีกตามเคย

ปลาย ปี 2552 อยากจะออกกำลังกายด้วยจักรยาน เจ้าเสือหมอบถูกหยิบขึ้นมาอีกครั้ง ไปซื้อเบาะใหม่เพราะของเก่าเป็นเบาะอานแบบแทบจะไม่มีบุอะไรไว้เลย เป็นอานแบบมีบุนวมนิ่ม ๆ หน่อย จะได่ไม่เจ็บก้น ราคาประมาณ 400 บาท ติดตะแกรงหลัง เพื่อเอาไว้ใส่ของหรือซ้อยท้ายได้ ติดที่วางขาด้านหลังเอาไว้ด้วย ครั้งแรกที่เริ่มปั่น ระยะทาง 1 กม. หมดแรง ปวดกล้ามเนื้อขา พักไป 1 สัปดาห์ เอาใหม่ คราวนี้ได้ 2 กม. หมดแรง ต่อมาได้ประมาณ 8 กม. เริ่มจากบ้าน สุขุมวิท 101/1 ไปซอยอุดมสุข เข้าซอยประวิทย์และเพื่อน กลับเข้าสุขุมวิท 101/1 เข้าบ้าน ทำอย่างนี้อยู่ได้ประมาณ 3-4 ครั้ง กำลังเริม่อยู่ตัว ส่วนใหญ่จะใช้เวลาช่วงหัวค่ำในการปั่น ใช้เวลาประมาณ 30 นาที

ต่อมาเริ่มใจกล้า ปั่นทางไกลมาขึ้น ออกจากบ้าน เข้าสี่แยกบางนา ไปถึงกิ่งแก้ว กม. 11 ยกรถข้ามสะพานลอย ปั่นกลับ ถึงสะพานข้ามแยกวัดศรีเอี่ยม เลี้ยวขึ้นสะพาน เข้าถนนศรีนครินทร์ เข้าอุดมสุข และเข้าบ้านสุขุมวิท 101/1 รวมระยะทางประมาณ 25 กม. ทำได้อยู่ประมาณ 3 ครั้ง ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง 30 นาที ความเร็วที่ทำได้ ใช้เกียร์สูงสุดที่มี น่าจะได้เกิน 30 กม. ต่อชั่วโมง 

คราวนี้เริ่มย่ามใจ จนนำมาสู่การเลิกขี่เสือหมอบ คราวนี้มาขี่ช่วงเช้า ออกจากบ้านเหมือนเดิม เข้าบางนา-ตราด ถึง กม. 8 เข้าถนนเลีบลทางด่วงวงแหวนตะวันออก ไปจนสุดทาง เข้าถนนอ่อนนุช เข้าถนนเฉลิมพระเกียรติ (อุดมสุข) กลับเข้าบ้าน รวมระยะทางประมาณ 35 กิโล ใช้เวลาประมาณ 2 ช่วงโมง แบบนี้ครั้งแรกก็ยังดี ๆ พอครั้งที่ 2 รถเริ่มดัง ล้อแกว่ง หมาวิ่งไล่เห่ากันเป็นฝูงเลย อั๋ยหยา ทำไง ปั่นแบบไม่ลืมหูลืมตาเลยคราวนี้ สุดท้าย กลับมาดูสภาพรถ เพลาเบี้ยว ลูกปืนดัง เลยไม่ได้ปั่นในระยะทางไกล ๆ ตั้งแต่ปี 2554 เจ้าเสือคันนี้เลยเป็นได้จักรยานทางใกล้ ไว้จ่ายกับเข้าเท่านั้น

ไม่นานต่อมา ยางในรั่ว เลยไม่ได้ซ่อมปล่อยเอาไว้เลย เพราะซ่อมไป ก็ยังไม่สามารถเอาทางไกลได้อยู่ดี

ปฐมบท เมื่อหัวใจมันเรียกร้อง

ขี่จักรยานทางไกล ฝันเล็ก ๆ ที่อยู่ในใจ

ความฝันของเด็กผู้ชายคนหนึ่งคือการได้ขี่จักรยานดี ๆ สักคัน เอาไว้ขี่ทางไกล ความฝันนี้เก็บเอาไว้ในใจตั้งแต่สมัยยังเรียนไม่จบ จนเวลาล่วงเลยมา 10 กว่าปี จนวันหนึ่ง ได้ถามตัวเองว่า มัวทำอะไรอยู่ ทำแต่งาน แล้วได้อะไร ชีวิตหน้าที่การงานก็มั่นคงแล้ว ถึงเวลาหรือยังที่จะทำตามความฝันของตัวเองซะที ตัดสินใจ จะขี่จักรยานทางไกลให้ได้ ไม่เอามาก ขอแค่ 500 กิโล เป็นเป้าหายในการขี่จักรยานทางไกลก็พอ

มกราคม 2556 วันที่ตัดสินใจแล้วว่าจะต้องทำตามฝันของตัวเอง ถึงเวลาแล้วที่จะต้องเริ่มหาข้อมูล การขี่จักรยานมีอะไรกันข้าง ขี่อย่างไร การฝึกฝน มาตรการขี่ทางไกล อุปกรณ์ การเตรียมตัว การเลือกรถ โอ้โห เยอะแหะ จะเริ่มอย่างไรหละคราวนี้

เริ่มต้นหาข้อมูล

สิ่งแรกที่คิดถึง แน่นอน เข้าอินเตอร์เน็ต เริ่มค้น ก่อนอื่นเริ่มค้นเกี่ยวกับบอร์ด กระทู้ต่าง ๆ ของจักรยาน ชมรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับจักรยาน เพื่อเตรียมเอาไว้เป็นแหล่งข้อมูล ก็พบว่ามีแหล่งข้อมูลใหม่อยู่ 2 แหล่ง

ชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย
กับ
Thailand Cycling Community

ทั้ง 2 แหล่งนี้เป็นแหล่งของมูลที่ดีมากในการขี่จักรยาน
นอกจากนั้น ยังใช้ Google ช่วยอีกในเรื่องการค้นหาข้อมูลที่เราต้องการเฉพาะเรื่อง โดยเฉพาะ เรื่องข้อมูลทางเทคนิคของรถ การศึกษาข้อมูล ถ้าทำกันอย่างจริงจังแล้ว ประมาณ 2 สัปดาห์ก็จะเข้าใจว่า สิ่งที่เรากำลังศึกษามีโครงสร้างของข้อมูลเป็นอย่างไร และเราจะเตรียมตัวขี่จักรยานทางไกลอย่างไร